Skip to main content

ประวัติของวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

ประวัติของวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพัฒนาการมาจาก วงปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาดทุ้มเหล็ก  ส่งผลให้เกิดเสียงลักษณะเสียงทุ้มนุ่มนวล และดังกังวานมากขึ้น เหมาะกับการบรรเลงในที่โล่งแจ้ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร บางวงก็เพิ่มกลองทัดรวมเป็น ๓ ใบบ้าง ๔ ใบบ้าง ส่วนฉาบใหญ่นำมาใช้ในวงปี่พาทย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  วงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้นๆ ด้วย เช่น

– ภาษาเขมร ใช้ โทน
– ภาษาจีน ใช้ กลองจีน กลองต๊อกแต๋ว
– ภาษาฝรั่ง ใช้ กลองมริกัน (อเมริกัน) หรือกลองแตร็ก (side drum, snare drum)
– ภาษาพม่า ใช้ กลองยาว
– ภาษามอญ ใช้ ตะโพน เปิงมาง

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เพลงไหว้ครู (กลม) : 


Comments

Popular posts from this blog

รายงาน Group Project

เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชา พื้นศิลปศึกษา 2 (ดนตรีไทย) รหัสวิชา ศ22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จัดทำโดย 1. ด.ช. ภัทรภณ วงศ์แจ่มเจริญ 2. ด.ช. เสฏฐนันท์ ทรวงบูรณกุล 3. ด.ช. ธนพัฒน์ พรธิสาร 4. ด.ช. ศุภณัฐ สุริโยดร เพลงดนตรีไทย: