ประวัติของวงปี่พาทย์
ปี่พาทย์ หมายถึง วงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ตามที่ปรากฏตามหลักฐานในสมัยสุโขทัย ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตีได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก และเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ตะโพน กลองทัด เป็นต้น ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า พิณพาทย์ สามารถจำแนกได้เป็น 6 วง ดังนี้
1. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนี่ง ที่เป็นต้นแบบของวงปี่พาทย์ประเภทอื่นๆ โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า“วงปี่พาทย์” เดิมเรียกชื่อว่า “วงพิณพาทย์” ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเปลี่ยนเป็นคำว่า “ปี่พาทย์” สำหรับวงปี่พาทย์ ที่ระบุคำว่า “ไม้แข็ง” เนื่องจากไม้ที่ใช้ตีระนาดเอกจะใช้ไม้แข็งบรรเลง วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร เช่นงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค งานเทศกาลบุญ รวมทั้งใช้ประกอบการแสดงต่างๆ ปัจจุบันยังนิยมนำมาบรรเลง – ขับร้องบทเพลงต่างๆ เพื่อการฟังด้วย
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนี่ง ที่เป็นต้นแบบของวงปี่พาทย์ประเภทอื่นๆ โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า“วงปี่พาทย์” เดิมเรียกชื่อว่า “วงพิณพาทย์” ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเปลี่ยนเป็นคำว่า “ปี่พาทย์” สำหรับวงปี่พาทย์ ที่ระบุคำว่า “ไม้แข็ง” เนื่องจากไม้ที่ใช้ตีระนาดเอกจะใช้ไม้แข็งบรรเลง วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร เช่นงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค งานเทศกาลบุญ รวมทั้งใช้ประกอบการแสดงต่างๆ ปัจจุบันยังนิยมนำมาบรรเลง – ขับร้องบทเพลงต่างๆ เพื่อการฟังด้วย
2. วงปี่พาทย์เสภา
วงปี่พาทย์เสภา เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการนำเอาลูกเปิง หรือกลองสองหน้า เข้ามาตีในวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดยทำหน้าที่ตีประกอบจังหวะหน้าทับ วงปี่พาทย์เสภาใช้บรรเลงประกอบการเล่นเสภา ประกอบละครเสภา และบรรเลง – ขับร้องบทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง
วงปี่พาทย์เสภา เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการนำเอาลูกเปิง หรือกลองสองหน้า เข้ามาตีในวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดยทำหน้าที่ตีประกอบจังหวะหน้าทับ วงปี่พาทย์เสภาใช้บรรเลงประกอบการเล่นเสภา ประกอบละครเสภา และบรรเลง – ขับร้องบทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง
3. วงปี่พาทย์ไม้นวม
วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงวงและบรรเลงรับ-ร้องก่อน ในการประสมวงดนตรี ท่านใช้ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลิบแทนปี่ในและปี่นอก และได้เพิ่มซออู้ ส่วนระนาดเอกก็เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมตีแทนไม้แข็ง เพื่อลดระดับเสียง เนื่องจากใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละครที่แสดงในโรงละครหรือในอาคาร
วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงวงและบรรเลงรับ-ร้องก่อน ในการประสมวงดนตรี ท่านใช้ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลิบแทนปี่ในและปี่นอก และได้เพิ่มซออู้ ส่วนระนาดเอกก็เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมตีแทนไม้แข็ง เพื่อลดระดับเสียง เนื่องจากใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละครที่แสดงในโรงละครหรือในอาคาร
4. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นวงดนตรีที่มีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครแนวใหม่ ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงรูปแบบด้วยการผสมผสานระหว่างละครในกับละครอุปรากร เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้สร้างโรงละครขึ้นใหม่ ตั้งชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์” จึงส่งผลให้ชื่อ “ดึกดำบรรพ์” เป็นชื่อของละครรูปแบบใหม่และวงดนตรีด้วย เครื่องดนตรีที่ประสมในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพน ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ และฉิ่ง
5. วงปี่พาทย์นางหงส์
วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ประสมวงขึ้นเพื่อใช้ประโคมในงานอวมงคลโดยเฉพาะ เป็นการประสมระหว่างวงปี่พาทย์กับวงบัวลอยซึ่งมีเครื่องดนตรี คือ ปี่ชวา ๑ เลา กลองมลายู ๒ ใบ และฆ้องเหม่ง ๑ ใบ การเรียกว่า วงบัวลอยเพราะเมื่อบรรเลงเพลงในชุดเพลงประโคมหลังจากเพลงรัว ๓ ลาแล้วจึงบรรเลงต่อด้วยเพลงบัวลอย จากนั้นจึงบรรเลงเพลงอื่นๆ การประสมวงของวงปี่พาทย์นางหงส์จึงมี ปี่ชวา กลองมลายูของวงบัวลอย ไม่ใช้ฆ้องเหม่ง ส่วนในวงปี่พาทย์ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีบางชนิดออกไป คือ ปี่ใน ตะโพน กระนั้นวงปี่พาทย์นางหงส์ในหลายพื้นที่ยังคงใช้กลองทัดอยู่
การที่เรียกว่า “นางหงส์” นั้น เพราะมีแบบแผนการบรรเลงที่ต้องใช้เพลงเรื่องนางหงส์ จึงเป็นแนวให้เรียกชื่อวงดนตรีนี้ว่า วงปี่พาทย์นางหงส์
วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นวงปี่พาทย์ที่ประสมวงขึ้นเพื่อใช้ประโคมในงานอวมงคลโดยเฉพาะ เป็นการประสมระหว่างวงปี่พาทย์กับวงบัวลอยซึ่งมีเครื่องดนตรี คือ ปี่ชวา ๑ เลา กลองมลายู ๒ ใบ และฆ้องเหม่ง ๑ ใบ การเรียกว่า วงบัวลอยเพราะเมื่อบรรเลงเพลงในชุดเพลงประโคมหลังจากเพลงรัว ๓ ลาแล้วจึงบรรเลงต่อด้วยเพลงบัวลอย จากนั้นจึงบรรเลงเพลงอื่นๆ การประสมวงของวงปี่พาทย์นางหงส์จึงมี ปี่ชวา กลองมลายูของวงบัวลอย ไม่ใช้ฆ้องเหม่ง ส่วนในวงปี่พาทย์ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีบางชนิดออกไป คือ ปี่ใน ตะโพน กระนั้นวงปี่พาทย์นางหงส์ในหลายพื้นที่ยังคงใช้กลองทัดอยู่
การที่เรียกว่า “นางหงส์” นั้น เพราะมีแบบแผนการบรรเลงที่ต้องใช้เพลงเรื่องนางหงส์ จึงเป็นแนวให้เรียกชื่อวงดนตรีนี้ว่า วงปี่พาทย์นางหงส์
6. วงปี่พาทย์มอญ
เป็นวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งที่นำเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งประสมกับเครื่องดนตรีมอญคือ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งมี ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ส่วนเครื่องดนตรีมอญมี ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก โหม่ง ๓ ใบ และมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ ในด้านแบบแผน การบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญเป็นไปตามแนววิธีของดนตรีไทย
วงดนตรีนี้ใช้บรรเลงในหลายโอกาส เช่น ในงานพิธีมงคลต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายมอญ ใช้บรรเลง – ขับร้อง บทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง ใช้ประกอบการแสดงลิเก ใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพในวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ และงานฌาปนกิจศพ
เป็นวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งที่นำเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งประสมกับเครื่องดนตรีมอญคือ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งมี ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ส่วนเครื่องดนตรีมอญมี ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก โหม่ง ๓ ใบ และมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ ในด้านแบบแผน การบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญเป็นไปตามแนววิธีของดนตรีไทย
วงดนตรีนี้ใช้บรรเลงในหลายโอกาส เช่น ในงานพิธีมงคลต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายมอญ ใช้บรรเลง – ขับร้อง บทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง ใช้ประกอบการแสดงลิเก ใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพในวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ และงานฌาปนกิจศพ
ปี่พาทย์ครอบคลุมวัฒนธรรมด้านเครื่องดนตรี ความเชื่อ ค่านิยม ขนบนิยม ประเพณี และระเบียบปฏิบัติ วงปี่พาทย์ สามารถนำไปบรรเลง – ขับร้องในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนของงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร ประกอบการแสดงโขน หนังใหญ่ ละคร หุ่นกระบอก ลิเก และเป็นดนตรีเพื่อการฟัง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพและงานฌาปนกิจศพฯลฯ
ปัจจุบัน บทบาทการบรรเลงของวงปี่พาทย์แต่ละประเภทมีปริมาณลดลง เพราะประชาชนเปลี่ยนค่านิยมในการหาจ้างไปบรรเลง ทำให้ปี่พาทย์บางลักษณะ เช่น วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์เสภา วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์นางหงส์ เริ่มหาฟังได้ยาก บางสถานการณ์หน่วยงานของทางราชการและเอกชนสนับสนุนให้เกิดขึ้น หลายแห่งจัดสาธิตเพื่อการศึกษา มิใช่เกิดขึ้นตามกระบวนการทางวัฒนธรรมและวิถีชน จึงนับเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการมรดกวัฒนธรรมปี่พาทย์อย่างเร่งด่วนต่อไป
การผสมวงปี่พาทย์:
ปัจจุบัน บทบาทการบรรเลงของวงปี่พาทย์แต่ละประเภทมีปริมาณลดลง เพราะประชาชนเปลี่ยนค่านิยมในการหาจ้างไปบรรเลง ทำให้ปี่พาทย์บางลักษณะ เช่น วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์เสภา วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์นางหงส์ เริ่มหาฟังได้ยาก บางสถานการณ์หน่วยงานของทางราชการและเอกชนสนับสนุนให้เกิดขึ้น หลายแห่งจัดสาธิตเพื่อการศึกษา มิใช่เกิดขึ้นตามกระบวนการทางวัฒนธรรมและวิถีชน จึงนับเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการมรดกวัฒนธรรมปี่พาทย์อย่างเร่งด่วนต่อไป
การผสมวงปี่พาทย์:
Comments
Post a Comment